
พระบูชาหลวงพ่อพระเสริม วัดปทุมวนาราม หน้าตัก 5 นิ้ว เขตปทุมวัน กรุงเทพ รุ่นพิเศษ ฉลอง150ปี มงคลชีวิต
TBS234
พระบูชาหลวงพ่อพระเสริม
วัดปทุมวนาราม
หน้าตัก 5 นิ้ว
เขตปทุมวัน กรุงเทพ
เสริมสิริมงคลชีวิต
เนื้อทองเหลือง
รุ่น พิเศษ จัดสร้าง 99 องค์
เนื่องในโอกาส 150 ปี
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญหลวงพ่อพระเสริมมา
ประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธาน ณ วิหารหลวง วัดปทุมวนารามราชวรมหาวิหาร
ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2408
ด้านหน้าประดับเหรียญตราวัดปทุมวนาราม
พระบูชาหลวงพ่อพระเสริม วัดปทุมวนาราม
หน้าตัก 5 นิ้ว
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
เสริมสิริมงคลชีวิต
คาถาบูชา หลวงพ่อพระเสริม
นะ โม พุทธา ยะ ( ว่า 3 จบ )
นะ เสริมส่ง โม เสริมสุข พุท เสริมโชค ธา เสริมลาภ ยะ เสริมทรัพย์
อำนาจ วาสนา บารมี อะหัง วันทามิ สัพพะ โสตภี ภะวันตุเมฯ ( ว่า 5 จบ )
ประวัติหลวงพ่อพระเสริม
พระ เสริม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 นิ้ว สร้างขึ้นพร้อมกับพระสุก พระใส พระเสริม วัดปทุมวนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ "พระเสริม"ถือเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องแห่งกรุงศรีสัตนา คนหุต
ถือ เป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องแห่งกรุงศรีสัตนา คนหุต หล่อขึ้นจากทองสีสุก (โลหะสำริดที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก) เมื่อราวปี พ.ศ.2109 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง พร้อมด้วยพระธิดา 3 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระธิดาเสริม พระธิดาสุก และพระธิดาใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคลมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
ใน พิธีการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ พระภิกษุและฆราวาสช่วยกันสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งมาอาสาสูบเตาแทนพระและเณร
แต่ วันนั้น ญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จลงด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์
พระธิดาเสริม สุก และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ พระสุกเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์สุดท้อง
สมเด็จ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า พระเสริม พระสุก พระใส เป็นพระพุทธรูปลาวล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักร ล้านช้างและต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาวในยุคนั้น
ใน รัช สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครั้งเจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างก่อกบฏ พระองค์ทรงโปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบ และได้ตั้งค่ายทหารที่เมืองพานพร้าว
ทหารไทยเข้าตี เมืองเวียงจันทน์ จนเจ้าอนุวงศ์หนีไปจากเวียงจันทน์ ในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมือง เวียงจันทน์ หลายองค์ ได้แก่ พระแซกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ มาเก็บรักษาไว้ที่เมืองพานพร้าว และได้มีการสร้างพระเจดีย์เพื่อประดิษฐานจารึกพระนาม พระเจดีย์ปราบเวียง ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ร่วมกับพวกญวนเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์คืนและตีค่ายพานพ ร้าว ทหารฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้รื้อพระเจดีย์ปราบเวียง และนำพระพุทธรูปที่บรรจุอยู่ทั้งหมดกลับเวียงจันทน์
ใน ที่สุด ทหารไทยเข้ายึดค่ายพานพร้าวคืนและตีเมืองเวียงจันทน์ ทำลายเมืองเวียงจันทน์ กำแพงเมือง ป้อมเมือง และหอคำ จนกลายเป็นทะเลเพลิง เหลือไว้แต่วัดสีสะเกด รวมทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบางแห่ง และได้มีการนำพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งข้ามกลับมาฝั่งไทย
ส่วน การ อัญเชิญพระเสริม พระสุก พระใส จากเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่าพบพระพุทธรูปในถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขาควาย เนื่องจากชาวเมืองได้นำไปซ่อนไว้เพื่อหนีภัยสงคราม จึงนำขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง
เมื่อ ถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย) เกิดพายุฝนตกหนักแพที่ประดิษฐานพระสุกแตก ส่งผลให้พระสุกจมหายไปในกระแสน้ำ ส่วนพระเสริมและพระใสได้อัญเชิญมาถึงเมืองหนองคายอย่างปลอดภัย
พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง
(วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
ต่อ มา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สมัยนั้น พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระเสริมมาประดิษฐานยังพระบวรราชวัง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวง (เหม็น) ไปอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนคร
เมื่อ ครั้งอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนครนั้น กล่าวกันว่าพระใสแสดงปาฏิหาริย์ เกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย ซ่อมก็หักอีก วัวลากเกวียนไม่ยอมเดิน ทั้งเชิญและบวงสรวงก็ไม่เป็นผล สุดท้ายทหารจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทน
ส่วน พระเสริม อัญเชิญไปกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งที่มีการแห่พระเสริมจากหนองคาย เข้าเขตพระนครในยุคนั้น ชาวลาวล้านช้างที่ถูกต้อนมาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ต่างได้ทำริ้วขบวนแห่ต้อน รับ จัดทำพานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม
ต่อ มา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหารวัดปทุมวนาราม ตราบจนถึงทุกวันนี้
• บัตรเครดิต / บัตรเดบิต | ![]() ![]() |
• ผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต | ![]() ![]() |
• เพย์สบาย | ![]() |
• เพย์พาว | ![]() |
• เอ็มเปย์ | ![]() |
• โอนเงินผ่านธนาคาร | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
• เคาน์เตอร์เซอร์วิส | ![]() |
• โอนผ่านธนาคารแบบระบุเลขบัญชี | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
• เอ็มเปย์ สเตชั่น | ![]() |
สุทธิสารวินิจฉัย แขวง สามเสนใน เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 สนใจติดต่อสอบถาม tbs234_bkk@yahoo.com โทรศัพท์ 083-911-4922
TBS 234 ร้านค้าของเราจัดจำหน่าย ให้เช่าบูชา พระพุทธรูป พระบูชา หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อ... อ่านทั้งหมด